ไดโนเสาร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก
หากจะกล่าวย้อนหลังไปซักหลายร้อยล้านปีมาแล้ว ในสมัยที่โลกยังเป็นยุคโบราณยังไม่มีมนุษย์กำเนิดขึ้นมา มีสัตว์อยู่ประเภทหนึ่งที่ครองโลกอยู่ …ใช่แล้วครับ เจ้าสัตว์ที่ว่านี่ก็คือ ไดโนเสาร์นั่นเอง คำว่า “ไดโนเสาร์” นั้นมีที่มาจากภาษากรีกสองคำครับ คือ ไดโนเสาร์ (Deinos) ที่ว่าแปล ทรงพลังและน่าเกรงขาม กับ ซอโรส (Sauros) ที่แปลว่า กิ้งก่า นั่นเองครับ ส่วนคำว่า ไดโนซอร์หรือไดโนเสาร์ นั้นถูกตั้งโดยนักบรรพชีวินวิทยาชาวอังกฤษ ริชาร์ด โอเว่น การค้นพบไดโนเสาร์นั้นมีมานับพันปีแล้วครับ หากแต่เราเพิ่งมารู้จักกับไดโนเสาร์ว่ามันเป็นสัตว์แบบไหน กินอะไรเป็นอาหาร อาศัยอยู่อย่างไร ก็เมื่อไม่กี่ร้อยปีมานี่เอง ซากกระดูกฟอสซิลของไดโนเสาร์เอง นี่ก็เป็นที่มาของสัตว์ในจินตนาการอย่างเช่น มังกรนั่นเองครับ
ไดโนเสาร์ตัวแรกที่มีการค้นพบฟอสซิลอย่างเป็นทางการ
ส่วนฟอสซิลไดโนเสาร์ตัวที่สองของโลกที่มีการค้นพบก็คือ อิกัวโนดอน (Iguanodon) ครับ ค้นพบโดย แมรี แอน แมนเทล (Mary-Ann Mantell) ภรรยาของ กิเดียน แมนเทล (Gideon Mantell) นักชีววิทยาชาวอังกฤษ ส่วนชื่ออิกัวโนดอน นั้น กิเดียน ได้แรงบันดาลใจมาจากกระดูกของกิ้งก่าอิกัวน่า ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันกับฟอสซิลที่ค้นพบ ก็เลยตั้งชื่อว่าอิกัวโนดอนซะเลย
.....จากนั้นมาก็มีการค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่อยู่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งทฤษฎีและองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ได้มาจากการวิจัยและเก็บข้อมูลกันมาอย่างยาวนานจากนักวิชาการ ทำให้เรารู้จักกับไดโนเสาร์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ถิ่นที่อยู่อาศัย อาหาร และลักษณะทางกายภาพ ไดโนเสาร์ เป็นที่รู้จักโด่งดังไปทั่วโลกก็เมื่อครั้งที่ภาพยนตร์เรื่องจูราสสิค พาร์ค (Jurassic Pak) เข้าฉายเมื่อปี ค.ศ. 1993 นี่ละครับ

อันดับที่ 10 อัลโลซอรัส กับ ทอร์โวซอรัส (Allosaurus, Torvosaurus)
.....สำหรับอันดับที่ 10 นี้ มีผู้เข้ารอบด้วยกัน 2 ชนิด ก็คือ อัลโลซอรัส และ ทอร์โวซอรัสครับ เรามาดูข้อมูลกันทีละตัวเลยครับ เริ่มจาก อัลโลซอรัส ก่อนเลย
.....อัลโลซอรัส เป็นไดโนเสาร์นักล่าที่มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 150 ล้านปีก่อนครับ อาศัยอยู่ในช่วงปลายยุคจูราสสิค ถูกค้นพบและนำมาตีพิมพ์เป็นงานวิจัยเมื่อปี ค.ศ.1877 ครับ จากนักบรรพชีวินวิทยา ออธเนียล ชาร์ลส์ มาร์ช(Othniel Charles Marsh) ลักษณะทางกายภาพของเจ้าอัลโลซอรัสนั้นมีความยาววัดจากหัวถึงหางได้ประมาณ 12เมตร(อันนี้นับจากตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบนะครับ) น้ำหนักกว่า 2 ตัน ฟันยาวแหลมคม ตามแบบฉบับไดโนเสาร์นักล่าทั่วไป หางยาว ลำตัวเหมือนกิ้งก่า มีนิ้วข้างละสามนิ้วพร้อมกรงเล็บ กินสัตว์กินพืช(Sauropods, Herbivores) เป็นอาหาร จากการศึกษาพบว่า อัลโลซอรัส มีพฤติกรรมเป็นสัตว์สังคมครับ อยู่เป็นฝูงและล่าเป็นฝูง และร่วมกันกินเหยื่อ ซึ่งต่างจากไดโนเสาร์กินเนื้อนักล่าชนิดอื่นที่มักจะกินและล่าโดยลำพัง คร่าวๆ ครับสำหรับเจ้าอัลโลซอรัสนี้
ภาพเปรียบเทียบขนาดของทอร์โวซอรัสกับมนุษย์

.....ทอร์โวซอรัส ก็เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อนักล่าอีกชนิดครับ ที่อาศัยร่วมยุคกับเจ้าอัลโลซอรัส ในยุคจูราสสิคตอนปลาย มีการค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1972 ที่รัฐโคโลราโด ประเทศอเมริกา โดย เจมส์ เจนเซ่น (James A. Jensen) และ เคนเนธ แสต็ดแมน (Kenneth Stadtman) ในปัจจุบันมีการพบฟอสซิลทั้งอเมริการเหนือและยุโรปครับ รูปร่างเจ้ากิ้งก่าตัวนี้มีความยาววัดจากหัวถึงหางประมาณ 12 เมตร ลักษณะทางกายภาพส่วนใหญ่ก็ใกล้เคียงกันกับเพื่อนนักล่าร่วมอันดับของมันครับครับ นี่ก็เป็นข้อมูลคร่าวๆ ของผู้ที่เข้ารอบครองอันดับ 10 ทั้ง 2 ตัว เรามาต่อกันที่อันดับต่อไปเลยครับ
อันดับที่ 9 ไทรันโนไททัน (Tyranotitan)
.....สำหรับอันดับที่ 9 ผู้ที่เข้ารอบก็คือเจ้า ไทรันโนไททัน ครับ เป็นไดโนเสาร์นักล่ากินเนื้ออีกชนิดหนึ่งที่เคยครองผืนดินอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งถูกค้นพบมาเมื่อไม่นานมานี้เองครับ ย้อนไปเมื่อปี ค.ศ.2005 ที่ประเทศอาร์เจนตินา โดยผู้ที่ค้นพบคือ เฟอร์นันโด โนวาส (Fernando E.Novas)
และลูกทีมของเขา สำหรับไทรันโนไททัน มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 121 ล้านปีก่อน หรือในช่วงยุคครีเตเชียสตอนต้นครับ จากการที่เพิ่งมีการค้นพบฟอสซิลได้มาเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง ทำให้ยังไม่ทราบข้อมูลของมันมากเท่าไหร่ครับ หากวัดขนาดความยาวจากหัวถึงปลายหางแล้ว ไทรันโนไททันมีความยาวประมาณ 12.2 เมตรครับ ด้วยความยาวขนาดนี้ ทำให้สัตว์กินเนื้อนักล่าชนิดนี้ครอบครองอันดับที่ 9ได้อย่างสบายๆ เลยครับ
อันดับที่ 8 มาพิวซอรัส (Mapusaurus)
.....มาพิวซอรัสนั้นอาศัยอยู่ในช่วงปลายยุคครีเตเชียส ค้นพบครั้งแรกที่ประเทศอาร์เจนตินา เมื่อปี ค.ศ.1997จากโครงการความร่วมมือระหว่างอาร์เจนตินาและแคนาดา มาพิวซอรัสนั้นมีความยาวประมาณ 12.6 เมตรครับ เฉือนชนะไทรันโนไททันไปอย่างเฉียดฉิว
อันดับที่ 7 ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ (Tyrannosaurus Rex)
.....และแล้วอันดับนี้ก็มาถึงไดโนเสาร์ตัวโปรดของเด็กๆ และใครอีกหลายคนครับ กล่าวได้ว่าเป็นไดโนเสาร์ชนิดที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดในโลก ด้วยอิมเมจที่ดู ดุดัน น่าเกรงขาม และทรงพลัง ทำให้เจ้าตัวนี้เข้ามาอยู่ที่อันดับ 7 ไปอย่างไม่ยากเย็นครับ
มีการนำเอาคาแร็กเตอร์ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ก็หลายครั้ง แต่ที่โด่งดังที่สุดก็เห็นจะเป็นเรื่อง จูราสสิค พาร์ค นั่นเองครับ เรามาทำความรู้จักกับ ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ หรือ ทีเร็กซ์ (T-Rex) กันเลยครับ ทีเร็กซ์นั้นมีการค้นพบกันเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1905 ที่อเมริกาและมีการค้นพบกันมาเป็นระยะ มีการค้นพบซากฟอสซิลแบบสมบูรณ์ก็หลายครั้งเช่นกันครับ ทีเร็กซ์นั้นอาศัยอยู่ในช่วงยุคครีเตเชียสตอนต้น หรือประมาณ 75 ล้านปีก่อน มีความยาวตั้งแต่หัวจรดหาง 12.8 เมตรครับ ด้วยกะโหลกที่ใหญ่ ขากรรไกรกว้างกว่าเมตร ทำให้ทีเร็กซ์นั้นดูเป็นนักล่าที่น่าเกรงขามทีเดียว แรกเริ่มเดิมทีนั้นคิดกันว่า ทีเร็กซ์ เป็นสัตว์นักล่าขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่ทฤษฎีนั้นก็ได้ถูกลบล้างไปตามครรลองของวิทยาศาสตร์ เมื่อมีทฤษฎีใหม่ๆ พร้อมด้วยหลักฐานที่บ่งชี้ว่า ทีเร็กซ์ นั้นไม่ได้เป็นสัตว์นักล่าที่ใหญ่ที่สุดอีกต่อไปเมื่อเจอเข้ากับผู้ท้าชิงรายใหม่ๆ ที่มีการค้นพบกัน และทฤษฎีที่ว่าทีเร็กซ์นั้นเป็นสัตว์นักล่า ก็โดนทฤษฎีที่กล่าวว่า จริงๆ แล้วมันอาจจะเป็นเพียงแค่สัตว์กินซากเท่านั้นก็เป็นได้ โดยมีการนำตัวอย่างซากฟอสซิลมาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในเรื่องเหล่านี้ และก็พบกับข้อมูลบางอย่างที่เราไม่เคยรู้กันเลยครับ ว่าทีเร็กซ์นั้น ไม่น่าจะเป็นสัตว์นักล่าที่วิ่งไล่จับเหยื่อเหมือนอย่างที่เราเห็นในภาพยนตร์ จากการวิจัยพบว่า กระดูก
อันดับที่ 9 ไทรันโนไททัน (Tyranotitan)
.....สำหรับอันดับที่ 9 ผู้ที่เข้ารอบก็คือเจ้า ไทรันโนไททัน ครับ เป็นไดโนเสาร์นักล่ากินเนื้ออีกชนิดหนึ่งที่เคยครองผืนดินอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งถูกค้นพบมาเมื่อไม่นานมานี้เองครับ ย้อนไปเมื่อปี ค.ศ.2005 ที่ประเทศอาร์เจนตินา โดยผู้ที่ค้นพบคือ เฟอร์นันโด โนวาส (Fernando E.Novas)
อันดับที่ 8 มาพิวซอรัส (Mapusaurus)
.....มาพิวซอรัสนั้นอาศัยอยู่ในช่วงปลายยุคครีเตเชียส ค้นพบครั้งแรกที่ประเทศอาร์เจนตินา เมื่อปี ค.ศ.1997จากโครงการความร่วมมือระหว่างอาร์เจนตินาและแคนาดา มาพิวซอรัสนั้นมีความยาวประมาณ 12.6 เมตรครับ เฉือนชนะไทรันโนไททันไปอย่างเฉียดฉิว
อันดับที่ 7 ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ (Tyrannosaurus Rex)
.....และแล้วอันดับนี้ก็มาถึงไดโนเสาร์ตัวโปรดของเด็กๆ และใครอีกหลายคนครับ กล่าวได้ว่าเป็นไดโนเสาร์ชนิดที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดในโลก ด้วยอิมเมจที่ดู ดุดัน น่าเกรงขาม และทรงพลัง ทำให้เจ้าตัวนี้เข้ามาอยู่ที่อันดับ 7 ไปอย่างไม่ยากเย็นครับ


อันดับที่ 6 ชิลันไทซอรัส (Chilantaisaurus)
.....ไดโนเสาร์ผู้เข้ารอบชนิดนี้มาจากยุคครีเตเชียสตอนปลายครับ หรือประมาณ 92 ล้านปีก่อน ฟังจากชื่อแล้วก็อาจจะพอทราบว่า มันถูกค้นพบที่ประเทศจีนนี่เองครับ เมื่อปี ค.ศ.1964 เมื่อไม่นานมานี้เอง จากนักโบราณคดีชาวจีนชื่อ ฮู (Hu) เช่นเคยกับไดโนเสาร์กินเนื้อนักล่าทั่วไปครับ ที่จะมีกรามและฟันแหลมคมขนาดใหญ่เอาไว้จับเหยื่อ เดินสองขา น้ำหนักโดยประมาณ 4-6 ตัน ความยาวจากหัวถึงปลายหางประมาณ 13 เมตรครับ จากการศึกษาพบว่ามันเป็นญาติที่อยู่ในวงศ์เดียวกันกับอัลโลซอรัสและคาร์โนซอรัสครับ
อันดับที่ 5 ซอโรฟากาแน็กซ์ (Saurophaganax)
.....มาถึงผู้เข้ารอบที่มาจากยุคจูราสสิคตอนปลายกันบ้างครับ หรือราว 151 ล้านปีก่อน เจ้าไดโนเสาร์ชนิดนี้ก็เป็นญาติกับอัลโลซอรัสเหมือนกันครับ มีการค้นพบกันเมื่อปี ค.ศ.1931 ครับ ในรัฐโอคลาโฮมา สหรัฐอเมริกา โดยนักบรรพชีวินวิทยา จอห์น วิลลิส (John Willis) ซอโรฟากาแน็กซ์มีความยาวจากหัวจรดปลายหางประมาณ 13.1 เมตรครับ
อันดับที่ 4 คาร์แครอนโรดอนโทซอรัส (Carcharodontosaurus)
.....ไดโนเสาร์ผู้มาจากครีเตเชียสยุคกลางหรือราว 100 ล้านปีก่อน ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ มีน้ำหนักประมาณ 15 ตันครับ ความยาวประมาณ 13.2 เมตรครับ เจ้าคาร์แครอนโรดอนโทซอรัสนี่มีกะโหลกค่อนข้างยาวกว่าไดโนเสาร์กินเนื้อพันธุ์อื่นอยู่ครับ ขนาดยาวที่สุดของกะโหลกก็เกือบ 2 เมตรแล้วล่ะครับ รวมทั้งขนาดของซี่ฟันที่ยาวเรียงเต็มปาก ทำให้มันกลายเป็นหนึ่งในสุดยอดนักล่าของยุคนั้นเลยทีเดียว
อันดับที่ 3 ไจกันโนโทซอรัส (Giganotosaurus)
มาต่อกันอย่างไวถึงอันดับที่ 3 แล้วครับ กันเจ้ากิ้งก่ายักษ์ ไจกันโนโทซอรัส ยักษ์ใหญ่ 1 ใน 3 ไดโนเสาร์กินเนื้อนักล่า ที่เคยโรมรันและครองโลกใบนี้อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งในอดีต ไจกันโน อาศัยในช่วงยุคครีเตเชียสตอนปลาย หรือประมาณ 97 ล้านปีก่อนครับ มีการค้นพบครั้งแรกที่ประเทศอาร์เจนติน่า เมื่อปี ค.ศ.1993 โดย รูเบน คาร์โรลินี่(Ruben Carolini) นักสะสมฟอสซิลชาวอาร์เจนติน่า
คาดกันว่าน้ำหนักของเจ้าไจกันโน นี่มีน้ำหนักอยู่ประมาณ 13.3 ตัน เลยทีเดียวครับ เมื่อเทียบกับโครงสร้างอันมหึหาของมัน และกะโหลกยาว 1.9 เมตร พร้อมด้วยขากรรไกรและฟันแหลมคมขนาดยักษ์ เป็นรองแค่เจ้าคาร์แคโรดอนโทซอรัสอยู่นิดเดียว และจากผลการศึกษาก็พบว่ามันเป็นญาติกับคาร์แคโรดอนโทซอรัสซะด้วยซิครับ สำหรับความยาวของเจ้าไจกันโน นี่ยาวประมาณ 13.3 เมตรครับ ถือว่าไล่เลี่ยกับญาติของมันเลยทีเดียว และด้วยความยาวขนาดนี้ทำให้มันเข้าอันดับมาได้อย่างสบายๆ ครับ ในตอนแรกมีการประมาณกันว่ามันเป็นไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุด แต่จากผลการศึกษาและวิจัยก็พบว่า ไจกันโนโทซอรัส มีขนาดใหญ่กว่าทีเร็กซ์ ไม่มากเท่าใดนัก เพียงแต่ขนาดช่วงลำตัวอาจจะมีความยาวมากกว่าเท่านั้นเองครับ
อันดับที่ 2 ออกซ์ซัลไลอา (Oxalaia)
มาถึงรองแชมป์ไดโนเสาร์ชนิดเทอโรพอดส์หรือไดโนเสาร์กินเนื้อยักษ์ใหญ่นักล่าอันดับที่สองแล้วครับ ผู้ที่เข้ารอบ ได้แก่ ออกซ์ซัลไลอา ครับ เจ้ากิ้งก่ายักษ์ตัวนี้มีชีวิตอาศัยอยู่เมื่อประมาณ 98 ล้านปีมาแล้ว หรือยุคครีเตเชียสตอนปลายนั่นเองครับ แต่ก็เพิ่งมีการค้นพบเจ้า ออกซ์ซัลไลอา ชนิดนี้
นี่เมื่อปี ค.ศ.2004 ที่ผ่านมานี่เองครับ เรียกได้ว่า ค้นพบกันมาหมาดๆ เลยทีเดียว โดยทีมขุดค้นซากฟอสซิลได้ที่ประเทศบราซิล เจ้าออกซ์ซัลไลอานั้น รูปร่างแตกต่างจากตัวอื่นนิดหน่อยตรงที่ รูปร่างหัวของมันนั้นแคบและยาวครับ เหมือนกับตะโขงหรือจระเข้ในปัจจุบัน เดินสองเท้า และมีแผงขึ้นที่กลางหลัง อาศัยครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนจระเข้อีกเช่นกัน แต่มันกลับอยู่กันคนละวงศ์ครับ ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกัน หากแต่ว่ามันกลับคล้ายญาติของมันเองที่ได้อันดับหนึ่งอยู่มากครับ ดูผิวเผินแล้วมีความคล้ายคลึงกันมากทีเดียว มาดูกันที่ส่วนน้ำหนักโดยประมาณออกซ์ซัลไลอานั้น อยู่ที่ประมาณ 8 ตันครับ และความยาวจากหัวถึงหางมีประมาณ 14 เมตร เรียกได้ว่าไดโนเสาร์ยักษ์ใหญ่อีกตัวหนึ่งกันเลยทีเดียว แต่ถึงมันจะตัวยักษ์ใหญ่ขนาดนี้ แต่ก็ยังไม่สามารถคว้าอันดับหนึ่งมาครองได้ครับ เลยทำให้ต้องอยู่อันดับที่สองไปก่อน ใกล้ถึงอันดับหนึ่งแล้ว คิดว่าทุกคนคงจะเดาได้ครับ ว่ามันเป็นไดโนเสาร์ตัวไหน
อันดับที่ 1 สไปโนซอรัส อีจิพติคัส (Spinosaurus aegyptiacus)
และแล้วเราก็มาถึงอันดับ 1 แล้วครับ กับแชมป์เจ้าของอันดับไดโนเสาร์ยักษ์ใหญ่กินเนื้อนักล่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยปรากฏบนพื้นพิภพครับ เจ้าของตำแหน่งนี้จะเป็นไดโนเสาร์ตัวไหนไปไม่ได้นอกจาก
สไปโนซอรัส อีจิพติคัส เจ้ากิ้งก่ายักษ์มีแผงที่หลังนั่นเองครับ สไปโนซอรัส นั้นถูกค้นพบครั้งแรกที่ประเทศอียิปต์เมื่อปี ค.ศ.1910 ครับ จากนักบรรพชีวินวิทยาชาวเยอรมัน เอินร์ส สโตรเมอร์ (Ernst Stromer) คาดกันว่า สไปโนซอรัส นั้นมีชีวิตอาศัยอยู่ในช่วงยุคครีเตเชียส หรือประมาณ 110 ล้านปีมาแล้ว และก็สูญพันธุ์ไปพร้อมกับเพื่อนไดโนเสาร์อีกนับพันชนิด เมื่อครั้งที่เกิดเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ (The Great Extinction) จะด้วยจากการขาดแคลนอาหาร โรคระบาด ดาวเคราะห์พุ่งชนโลกนี้หรืออะไรก็แล้วแต่ครับ มันได้ทิ้งซากฟอสซิลเอาไว้ให้โลกนี้ได้รู้ว่าครั้งหนึ่งในอดีตอันไกลโพ้นนั้นเคยปรากฏนักล่าขนาดมหึมาอยู่บนโลกใบนี้

อันดับที่ 5 ซอโรฟากาแน็กซ์ (Saurophaganax)

อันดับที่ 4 คาร์แครอนโรดอนโทซอรัส (Carcharodontosaurus)

อันดับที่ 3 ไจกันโนโทซอรัส (Giganotosaurus)
มาต่อกันอย่างไวถึงอันดับที่ 3 แล้วครับ กันเจ้ากิ้งก่ายักษ์ ไจกันโนโทซอรัส ยักษ์ใหญ่ 1 ใน 3 ไดโนเสาร์กินเนื้อนักล่า ที่เคยโรมรันและครองโลกใบนี้อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งในอดีต ไจกันโน อาศัยในช่วงยุคครีเตเชียสตอนปลาย หรือประมาณ 97 ล้านปีก่อนครับ มีการค้นพบครั้งแรกที่ประเทศอาร์เจนติน่า เมื่อปี ค.ศ.1993 โดย รูเบน คาร์โรลินี่(Ruben Carolini) นักสะสมฟอสซิลชาวอาร์เจนติน่า

อันดับที่ 2 ออกซ์ซัลไลอา (Oxalaia)
มาถึงรองแชมป์ไดโนเสาร์ชนิดเทอโรพอดส์หรือไดโนเสาร์กินเนื้อยักษ์ใหญ่นักล่าอันดับที่สองแล้วครับ ผู้ที่เข้ารอบ ได้แก่ ออกซ์ซัลไลอา ครับ เจ้ากิ้งก่ายักษ์ตัวนี้มีชีวิตอาศัยอยู่เมื่อประมาณ 98 ล้านปีมาแล้ว หรือยุคครีเตเชียสตอนปลายนั่นเองครับ แต่ก็เพิ่งมีการค้นพบเจ้า ออกซ์ซัลไลอา ชนิดนี้

อันดับที่ 1 สไปโนซอรัส อีจิพติคัส (Spinosaurus aegyptiacus)
และแล้วเราก็มาถึงอันดับ 1 แล้วครับ กับแชมป์เจ้าของอันดับไดโนเสาร์ยักษ์ใหญ่กินเนื้อนักล่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยปรากฏบนพื้นพิภพครับ เจ้าของตำแหน่งนี้จะเป็นไดโนเสาร์ตัวไหนไปไม่ได้นอกจาก

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น